พระร่วงนั่ง เนื้อดิน กรุวัดช้างล้อม (พบน้อยมาก)

19 มีนาคม 2562 ยอดผู้ชม 8972 ครั้ง
ชื่อพระ:
พระร่วงนั่ง เนื้อดิน กรุวัดช้างล้อม (พบน้อยมาก)
พิมพ์พระ:
เนื้อพระ:
เนื้อดินเผา
ชื่อวัด:
วัดช้างล้อม
จังหวัด:
สุโขทัย
พุทธศักราช:
พุทธศตวรรษที่ 19

พระร่วงนั่ง เนื้อดิน กรุวัดช้างล้อม (พบน้อยมาก)

พระร่วงนั่งหลังลิ่ม กำเนิดที่วัดช้างล้อม เมืองศรีสัชนาลัย อ.สวรรค์โลก จ.สุโขทัย เป็นกรุแรกที่ค้นพบ ต่อมาขุดพบได้ที่กรุแก่งสาระจิต แต่มีผิวปรอทมากกว่า และได้พบที่เขาพนมเพลิง ด้วยพุทธลักษณะของพระร่วงนั่งหลังลิ่มเป็นพระนั่งปางมารวิชัย ศิลปะอู่ทอง (อย่างที่เรียกกันว่าอู่ทองหน้าแก่) ด้านหลังซึ่งเป็นเอกลักษณ์ทำเป็นหลังร่องคล้ายลิ่มสะกัด ซึ่งเราเรียกว่า "หลังลิ่ม" นั่นเอง  พระร่วงนั่งหลังลิ่ม ที่ขุดพบจากวัดช้างล้อม ผิวจะมีสีดำจัดประมาณ ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ซอกพระหัตถ์ซ้ายขององค์พระจะทะลุ พระร่วงนั่งลิ่มมีชื่อเสียงโด่งดังมากในด้านแคล้วคลาดภยันตราย ปัจจุบันเป็นพระที่หาได้ยาก และมีราคาแพง ขนาดองค์จริงสูงประมาณ ๓.๕ ซ.ม. กว้างประมาณ ๒.๕ ซ.ม. พระร่วงนั่งซุ้มเรือนแก้ว เนื้อชินเงิน กรุวัดช้างล้อม องค์นี้เป็นพระศิลปะแบบอู่ทอง นั่งประทับอยู่บนสองชั้น ปางมารวิชัย ด้านหลังองค์พระตัน มีขนาดใหญ่คือสูงประมาณ ๘ ซ.ม. ฐานกว้าง ๖ ซ.ม. พบอยู่บริเวณปากไห ที่พบพระร่วงนั่งลิ่มมีเพียงองค์เดียว เจ้าของเดิมได้ตกทอดมาจากผู้ที่พบพระร่วงหลังลิ่ม เพิ่งจะนำมาเปิดเผย ดูจากศิลปะและเนื้อพระน่าจะเป็นพระช่างเดียวกันกับพระร่วงนั่งหลังลิ่ม