พระนางพญากำแพงเพชร พิมพ์ลึก เนื้อดิน กรุวัดพิกุล
พระนางพญากำแพงเพชร พิมพ์ลึก เป็นพระเมืองกำแพงเพชร สกุลช่างสุโขทัย พุทธลักษณะเป็นพระมารวิชัย ประทับนั่งอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมฐานชั้นเดียวลำองค์พระล่ำสันใบหน้ายาวคล้ายผลมะตูม เกศยาวมีท้องอวบอ้วนเป็นรอน คล้ายกับพระบูชาสมัยสุโขทัย มีเส้นสังฆาฏิและชายผ้าขาว พาดผ่านหน้าท้องเลยวงแขนออกมา สันนิษฐานว่าพระนางพญากำแพงเพชรพิมพ์ลึก จะเป็นต้นแบบหรือสร้างก่อนพระนางพญากำแพงเพชรพิมพ์ตื้น มีทั้งเนื้อดินและเนื้อชิน เนื้อดินนั้นส่วนใหญ่จะมีลักษณะคล้ายกับพระซุ้มก่อพิมพ์ใหญ่มีกนก กล่าวคือจะมีว่านดอกมะขามมาก เนื้อจะแตกต่างกับนางพญากำแพงเพชรพิมพ์ตื้น เพราะพระนางพญากำแพงเพชรพิมพ์ตื้นจะเป็นเนื้อดินดิบแทบทั้งสิ้น
พระนางพญากำแพงเพชรพิมพ์ลึก เป็นพระที่พบน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับพระนางพญาพิมพ์ตื้นบริเวณที่พบคือ วัดพิกุล, วัดบรมธาตุ, วัดฤๅษีและบริเวณลานทุ่งเศรษฐี ด้วยเหตุที่มีน้อย และมีพุทธคุณลักษณะที่ลึกมีความสวยงามทำให้พระนางพญากำแพงเพชรพิมพ์ลึกมีราคาสูงในปัจจุบัน เท่าที่พบเนื้อดินมีด้วยกัน ๔ สีคือ แดง, เหลือง(พิกุลแห้ง), เขียวและดำ ด้านพุทธคุณนั้นเหมือนกับพระซุ้มกอทุกอย่าง