อมตพระกรุ เมืองลำพูน : พระคง วัดพระคงฤๅษี

22 กรกฎาคม 2559 ยอดผู้ชม 27480 ครั้ง

พระคง วัดพระคงฤาษี

พระคงหรือพระลำพูน คงมีการขุดพบกันนานมาก ประมาณร้อยปีเศษคงเป็นสมัยเดียวกับ ตุ๊เจ้าแสน แห่งวัดประตูลี้ ท่านกำลังรวบรวมพระเครื่องและพระพิมพ์ที่มีขุดพบจากกรุต่างๆในลำพูน ส่วนหนึ่งได้นำเข้าบรรจุไว้ในพระเจดีย์ตามเดิม ปรากฏจากคำบอกเล่าของท่าน พระอาจารย์ทา วัดพระคงฤาษี ว่าในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ พระครูบาคัมภีร์ระ ได้ขุดค้นพระคงที่ฝังจมเดินเรี่ยราดในบริเวณอุปจารของวัด ท่านได้รวบรวมพระคงเป็นจำนวนพันองค์ได้นำไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์พระคงและที่ใต้พื้นพระอุโบสถ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๘๕ ก็มีการเปิดกรุพระคงเพื่อนำมาแจกทหารในกองทัพพายัพซึ่งมาตั้งอยู่ในลำพูนขณะนั้น การเปิดกรุพระคงครั้งใหญ่ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ทางวัดได้ซ่อมพื้นที่พระอุโบสถได้พบพระคงสีต่างๆ มีจำนวนเป็นหมื่นองค์ พระคงรุ่นนี้เรียกว่า พระกรุใหม่และทางวัดได้นำพระคงออกให้เช่าบูชาที่หน้าวัดในขณะนั้นด้วย ข้าพเจ้าก็ได้ไปเช่าพระคงมาจำนวนหนึ่งในขณะนั้นด้วย นอกจากนั้นพระคงยังเป็นพระเครื่องที่มีขนาดเล็กกระทัดรัดที่สุด มีความงดงามองค์หนึ่งในบรรดาพระเครื่องสกุลลำพูนด้วยกัน องค์พระประทับนั่งในซุ้มโพธิ์ปางมารวิชัยบนฐานมีบัวเม็ดเรียงอยู่ด้านหน้าโดยรอบพื้นผนังใบโพธิ์ทำได้งดงามละเอียดอ่อนไหวหว่าผนังใบโพธิ์พระรอดมาก คงหมายถึงการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าภายใต้ซุ้มโพธิ์ที่พุทธคยา นอกจากในพื้นผนังใบโพธิ์ของพระรอดนั้นก็มีลักษณะไม่เหมือนใบโพธิ์ คงเป็นใบไม้ของต้นไทร ต้นจิก หรือต้นไผ่ ต้นไม้เหล่านี้เกี่ยวข้องกับพระพุทธองค์ทั้งสิ้นในภายหลังที่ทรงตรัสรู้ แล้วพระคงน่าจะสร้างในสมัยเดียวกับพระรอด

พระคง วัดพระคงฤาษี (กรุเก่า)

พระคง วัดพระคงฤาษี (กรุใหม่)

พระคง (กรุเก่า)

พระคง (กรุใหม่)

พระคง (กรุใหม่)

พระคง (กรุเก่า)

พระคง (กรุเก่า)

พระคง (กรุเก่า)

พระคง (กรุเก่า)