อมตพระกรุ เมืองลพบุรี : พระร่วงนั่งพิมพ์ต่าง ๆ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

26 กุมภาพันธ์ 2562 ยอดผู้ชม 28996 ครั้ง

พระร่วงนั่งพิมพ์ต่างๆ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จัดว่าเป็นวัดที่มีการพบพระเครื่องเป็นจำนวนมาก และมากที่สุดกว่าทุกวัดที่พบพระ เรียกว่ามีจำนวน ๓ ใน ๔ ของพระที่พบทั้งหมด ในจังหวัดลพบุรี เลยทีเดียว เพราะฉะนั้นพระร่วงนั่งที่พบในกรุนี้จึงมีปรากฏอยู่หลายพิมพ์ และมีหลายแบบด้วยกันถ้าจะเรียกชื่อแยกแต่ละพิมพ์แล้วก็ยากที่จะตั้งชื่อพระแต่ละพิมพ์นักสะสมพระเครื่องรุ่นแรกๆ ก็เลยตั้งชื่อรวมๆ กันว่า “พระร่วงนั่ง” พระพิมพ์พระร่วงนั่ง ของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ถ้ารวมทั้งกรุ เก่า กรุใหม่ จะมีด้วยกันทั้งพิมพ์ ที่ปรากฏคือ เนื้อชินเงิน เนื้อตะกั่วสนิมแดง เนื้อดิน และเนื้อสำริด ส่วนในด้านพุทธคุณนั้นพระร่วงนั่งทุกพิมพ์จะมีพุทธคุณเหมือนกัน คือ ทางแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี และมั่งมีโภคทรัพย์ เหมือนกันทุกองค์ พระพิมพ์นี้มีหลายท่านเข้าใจว่าเป็นพระหลวงพ่อแขก เนื้อตะกั่วสนิมแดงกรุวัดปืน ตามความจริงแล้วเป็นพระร่วงนั่ง กรุวัดพระศรีมหาธาตุ เพราะพระหลวงพ่อแขกจะนั่งประทับบนบัวเล็บช้าง และพระเกศาจะเป็นแบบขนนก พระร่วงนั่ง จิ๋ว นั้นมีขนาดเล็กที่สุดในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ คือ มีความสูงเพียง ๑ ซ.ม. เท่านั้น พอๆ กับพระเชตุพนของจังหวัดสุโขทัย พระร่วงนั่งจิ๋ว นั้นพบน้อยมาก ถือว่าหายากและมีราคาสูง พระพิมพ์นี้เป็นพระที่แตกกรุออกมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๘ พร้อมพระหูยานกรุใหม่ พบบริเวณเจดีย์รายเป็นพระเนื้อชินเงิน ล้วนมีขนาดสูงเพียง ๒ เซนติเมตรเท่านั้น ขนาดเล็กน่าคล้องคอเลยทีเดียวแตกกรุออกมาประมาณ ๒๐๐ กว่าองค์ราคายังไม่ค่อยสูงมาก แต่เหมาะที่จะนำติดตัวสักองค์ พุทธคุณสูงทางแคล้วคลาดคงกระพันชาตรี