พระท่ามะปราง

25 กุมภาพันธ์ 2562 ยอดผู้ชม 44833 ครั้ง

พระท่ามะปราง

ต้นกำเนิดของพระท่ามะปราง เป็นแห่งแรกก็คือ จังหวัดพิษณุโลก ถือว่าเป็นต้นแบบของพระท่ามะปรางทั้งหมด จัดเป็นพระที่มีอายุในการสร้างสูงกว่าทุกๆเมืองและคำว่า “พระท่ามะปราง” ก็นำมาจากการค้นพบที่วัดท่ามะปราง จังหวัดพิษณุโลก เป็นแห่งแรกนั้นเอง เมืองอื่นๆก็เลยนำชื่อมาตั้งพระที่มีลักษณะเดียวกัน เพราะฉะนั้นคำว่า “พระท่ามะปราง” จึงได้ปรากฏอยู่หลายๆเมือง พระท่ามะปรางของจังหวัดพิษณุโลก เป็นพระศิลปะสุโขทัยแบบวัดตะกวน พุทธลักษณะนั่งปางมารวิชัยอยู่บนฐานบัว มีทั้งเนื้อดิน และ เนื้อชิน พระท่ามะปรางถูกค้นพบมีหลายกรุด้วยกันคือ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ กรุวัดท่ามะปราง กรุเจดีย์ยอดทอง กรุอรัญญิก กรุโรงทอ กรุอัฎฐารส กรุวัดสะตือ แต่ที่มีชื่อเสียงและโด่งดังจนได้รัยฉายานามว่า “เงี้ยวทิ้งปืน” ก็คือกรุ “วัดท่ามะปราง” แต่พระที่ถูกค้นพบปรากฏว่าไม่ค่อยสวยงาม เพราะชำรุดและผุกร่อนมาก ส่วนกรุที่มีความสวยงามมากที่สุดก็คือกรุของวัด “พระศรีรัตนมหาธาตุ” พระท่ามะปรางของเมืองพิษณุโลกนั้นไม่ว่าจะกรุไหนก็ดีทุกกรุ ถือว่าเหมือนกันในด้านพุทธคุณ คือยอดเยี่ยมทางแคล้วคลาด เมตตามหานิยม และคงกระพันชาตรีเลยทีเดียว

พระท่ามะปราง เนื้อดิน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

พระท่ามะปราง เนื้อชินเงิน กรุวัดท่ามะปราง

พระท่ามะปราง เนื้อชินเงิน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

พระท่ามะปราง เนื้อดิน กรุวัดท่ามะปราง

พระท่ามะปราง เนื้อดิน กรุวัดสะตือ

พระท่ามะปราง เนื้อดิน กรุวัดสะตือ

พระท่ามะปราง เนื้อชินเงิน กรุวัดเจดีย์ยอดทอง

พระท่ามะปราง เนื้อดิน กรุวัดเจดีย์ยอดทอง

พระท่ามะปราง เนื้อดิน กรุวัดอรัญญิก

พระท่ามะปราง เนื้อชิน กรุวัดเจดีย์ยอดทอง

พระท่ามะปราง เนื้อชินเงิน กรุวัดท่ามะปราง(เงี้ยวทิ้งปืน)