อมตพระกรุ เมืองพิจิตร : ประวัติเมืองพิจิตร

27 กุมภาพันธ์ 2562 ยอดผู้ชม 9613 ครั้ง

ประวัติเมืองพิจิตร

พิจิตรนับเป็นเมืองเก่าแก่มากอีกเมืองหนึ่งแต่ประวัติการสร้างเมืองและชื่อเดิมของเมืองยังสับสนและหาข้อสรุปไม่ได้ นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีสันนิษฐานว่า พระยาโครตบองเทวราชเป็นผู้สร้างเมือง เมื่อ พ.ศ. ๑๖๐๑ โดยย้ายจากนครไชยบวร(อำเภอโพทะเล ในปัจจุบัน) มาอยู่ริมแม่น้ำน่าน (ตำบลเมืองเก่าในปัจจุบัน) เชื้อสายของพระยาโครตบองเทวราชปกครองเมืองพิจิตรเรื่อยมาอีก ๒๐๐ ปี ใน พ.ศ. ๑๘๐๐ อำนาจของขอมในดินแดนสุวรรณภูมิเริ่มเสื่อมลง พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานี และพิจิตรได้รับการสถาปนาเป็นเมืองลูกหลวงทางทิศใต้ของสุโขทัย ในรัชสมัยสมเด็จบรมไตรโลกนาถ ทรงวางระเบียบการปกครองบ้านเมืองใหม่ พิจิตรมีฐานะเป็นเมืองตรีข้นอยู่กับพิษณุโลก และได้ชื่อตามภูมิประเทศว่า โอฆะบุรีเป็นภาษาบาลีแปลว่า “ห้วงน้ำ” ต่อมา พ.ศ.๒๔๒๔ แม่น้ำน่านเปลี่ยนทางเดิน ทำให้ท้องน้ำบริเวณเมืองเก่าตื้นเขินขึ้น ชาวเมืองขาดแคลนน้ำหลวงธรเณนทร์ เจ้าเมืองพิจิตรขณะนั้นจึงได้ย้ายเมืองมาอยู่ที่บ้านปากทาง (ตำบลปากทาง อำเภอเมืองในปัจจุบัน) อีก ๓ ปี ต่อมามีการย้ายเมืองอีกครั้งไปที่บ้าน ซึ่งเป็นท่าหลวง ซึ่งเป็นที่ตั้งในปัจจุบัน และเมื่อมีการตั้งมณฑลเทศาภิบาลใน พ.ศ. ๒๓๒๖ เมืองพิจิตรได้รวมอยู่ในมณฑลพิษณุโลก ๒๓ ปีถัดมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เรียกชื่อว่าเป็นจังหวัด พิจิตรจึงมีฐานะเป็นจังหวัดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ใน “สาสน์” สมเด็จพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้บันทึกถึงชื่อเมืองพิจิตรไว้ว่า“เมืองโอฆะบุรีคือเมืองพิจิตร”เป็นเมืองโบราณมีป้อมปราการอยู่ริมแม่น้ำน่านเก่า เดิมชื่อว่า“เมืองสระหลวง”คงเพราะเป็นบึงบางมากทั้งในศิลาจารึกสุโขทัยในกฎหมายชั้นเก่าของกรุงศรีอยุธยาก็เรียกเมืองสระหลวง ปรับเป็นคู่กับ“เมืองสองแคว”คือเมืองพิษณุโลก ในหนังสือพงศาวดารเหนือได้บันทึกไว้ว่า พระยาโครตบองเทวราชบุตรพระยาโคตรมะเทวราชเป็นผู้สร้างเมืองพิจิตร แต่ไม่ปรากฏสมัยและเรื่องราวของการสร้างคงเป็นเค้าแต่ว่าพวกขอมชั้นหลังสร้างเมืองพิจิตร มาถึงกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เรียกนามเมืองนี้เป็นภาษาไทยว่าเมืองสระหลวงปรากฏอยู่ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงคงเป็นเพราะตั้งอยู่ชายทะเลสาบ นอกจากนี้จังหวัดพิจิตรยังมีความเกี่ยวข้องกับวรรณคดีไทยถึง ๒ เรื่อง คือไกรทองและขุนช้าง-ขุนแผน ซึ่งชื่อละครในขุนช้าง-ขุนแผน ได้ปรากฏเป็นชื่อถนนในอำเภอเมืองพิจิตรในปัจจุบัน เช่น ถนนพิจิตร ถนนบุษบา ถนนศรีมาลา ถนนพลายงาม และที่สำคัญคือ จังหวัดพิจิตรเป็นสถานที่ประสูติของพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์หนึ่ง คือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ (พระเจ้าเสือ) และบ้านเกิดของพระยาโหราธิบดีนักปราชญ์ในแผ่นดิน สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ผู้แต่งหนังสือจินดามณี (แบบเรียนภาษาไทยเล่มแรก) จังหวัดพิจิตรได้ชื่อว่าเป็นเมืองของนักรบ ในสมัยโบราณตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองพิจิตรจัดเป็นเมืองหน้าด่านเลยทีเดียวเพราฉะนั้นพระเครื่องของเมืองพิจิตรจึงจัดเป็นพระที่ เกี่ยวข้องกับความคงกระพันชาตรี

พระพิจิตร วัดนาคกลาง

โดยตรง แม้กระทั่งสมเด็จพระนเรศวรนำพระเครื่องของเมืองพิจิตรติดพระองค์เวลาออกศึกตลอด โดยได้ทรงนำมาไว้ที่พระมาลา จากหลักฐานที่สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้วได้ประพันธ์ไว้ใน “ลิลิตตะเลงพ่าย” นั้นเอง พระเครื่องของเมืองพิจิตร จัดเป็นพระที่เป็นเอกลักษณ์ที่ ขนาดขององค์พระจะเล็ก จิ๋ว เป็นส่วนใหญ่เพราะฉะนั้น พระเครื่องทั้งหมดของเมืองพิจิตร ๘๐% จะมีขนาดเล็กมาก เรียกว่าถ้าทำหล่นก็หายได้ แต่ถึงจะเล็กอย่างไรก็เล็กพริกขี้หนูเพราะยิ่งใหญ่ในด้านพุทธคุณนั้นเอง ในสมัยก่อนพระเครื่องเมืองพิจิตร ถูกจัดให้เป็นพระยอดนิยมของวงการเลยทีเดียว ในปัจจุบันนั้นพระของเมืองพิจิตรถือว่าหาได้ยากยิ่ง และมีปลอมเลียนแบบมากที่สุด เมื่อกล่าวถึงเมืองพิจิตร ทุกท่านต้องนึกถึงพระที่มีขนาดเล็กจนถึงขนาดจิ๋ว แต่ความจริงพระเมืองพิจิตรมีขนาดใหญ่เท่ากับเมืองอื่น ๆ ก็มี ผิดแต่พระขนาดเล็กและจิ๋วมีความนิยมมากกว่าพระขนาดใหญ่ พระเมืองพิจิตรกำเนิดขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยอยุธยามีมากมายหลายกรุ และมีหลายพิมพ์ เรียกว่ามีมากไม่แพ้จังหวัดอื่นเลยทีเดียว กรุที่ถือว่าได้รับความนิยมสูงสุดและหายากที่สุดและมีราคาเช่าหาแพงที่สุด ตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบันเห็นจะไม่มีกรุใดเทียบเท่า “วัดนาคกลาง” และกรุ “วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ” แต่ที่จะกล่าวถึงก่อนคือพระพิจิตร วัดนาคกลาง เพราะเป็นพระที่เรียกว่า ถ้านักสะสมพระเมืองพิจิตรสะสมพระเมืองนี้ทุกแบบทุกพิมพ์ แต่ถ้าขาดพระพิจิตร วัดนาคกลางแล้วถือว่ายังสะสมไม่สมบูรณ์หรือเรียกว่าขาดพระเอกไปนั้นเอง พระพิจิตร วัดนาคกลาง เป็นพระที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยตอนปลายเป็นพระเนื้อชินเงิน พุทธศิลปะนั่งประทับปางมารวิชัย มีขอบซุ้มข้างตัดแบบห้าเหลี่ยม ด้านหลังมีทั้งลายผ้าและหลังตัน บางองค์ไม่ได้ผ่านการใช้จะปรากฏผิวปรอทให้เห็น มีขนาดเล็กมาก ขนาดองค์จริงกว้างประมาณ ๐.๕ ซ.ม. และสูงประมาณ ๐.๖ ซ.ม. (ไม่ถึง ๑ ซ.ม.) พุทธคุณของพระกรุนี้สูงไปด้วยความแคล้วคลาดคงกระพันชาตรี