อมตะพระกรุ เมืองอยุธยา ตอนที่ 8

26 กุมภาพันธ์ 2562 ยอดผู้ชม 13680 ครั้ง

พระอู่ทอง คางเครา

พระอู่ทองคางเครา
เป็นพระศิลปะแบบลพบุรีพุทธลักษณะ ปางมารวิชัย ประทับอยู่บนฐานบัว สร้างจากเนื้อชินเงินทั้งหมด มีด้วยกัน 3 พิมพ์ คือ พิมพ์คางเครา พิมพ์ไม่มีเครา และพิมพ์เล็ก ถูกค้นพบที่วัดมหาธาตุเป็นพระเนื้อดำจัดมีทั้งสนิมตีนกา และสนิมเกล็ดกระดี่ เข้าใจว่าเป็นที่นำมาจากลพบุรี ในยุดเดียวกันกับพระนาคปรก พระงั่วนั่นเอง พระอู่ทองคางเครา
เป็นพระที่หายาก และมีจำนวนน้อย จึงเป็นพระที่มีผู้นิยมสะสมหากันมาก และมีราคาค่อนข้างสูง พิมพ์ที่นิยมที่สุด คือ พิมพ์มีเครา ด้านพุทธคุณนั้นสูงไปด้วยความคงกระพันชาตรี ขนาดองค์จริง ฐานกว้างประมาณ 3.5 ซม. 4.5 ซม.

พระอู่ทองคางเครา พิมพ์มีเครา กรุวัดพระมหาธาตุ เนื้อชินเงิน

พระอู่ทองคางเครา พิมพ์เล็ก กรุวัดพระมหาธาตุ เนื้อชินเงิน

พระอู่ทองคางเครา (พิมพ์มีเครา) เนื้อชินเงิน กรุวัดพระมหาธาตุ อยุธยา

พระอู่ทองคางเครา (พิมพ์มีเครา) จริง ๆ แล้วจุดประสงค์ของผู้ที่สร้างคงไม่ได้ต้องการให้พระมีเคราดังที่เห็น แต่เผอิญ แม่พิมพ์ที่ทำให้เกิดเสียในการเทพระชุดนี้ คือ ตรงบริเวณใต้คางของพระองค์พระเกิดบล็อค หรือแม่พิมพ์เกิดแตกเลยทำให้เกิดเครา โดยบังเอิญ เพราะโดยเหตุผลที่พระจะไม่ปรากฏว่ามีเครา ในตำนานโบราณ จะมีเฉพาะประเภท เทวรูป เท่านั้นจะมีเครา พระอู่ทองพิมพ์มีเครา จะมีน้อยกว่าพิมพ์ไม่มีเครา เพราะฉะนั้นราคาการเช่าหาจึงสูงกว่าพิมพ์ไม่มีเครา

พระอู่ทองคางเครา (พิมพ์มีเครา) เนื้อชินเงิน กรุวัดพระมหาธาตุ อยุธยา

พระอู่ทองคางเครา (พิมพ์ไม่มีเครา) เนื้อชินเงิน กรุวัดพระมหาธาตุ อยุธยา

พระอู่ทองคางเคราส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อชินเงิน สนิมเกร็ดกระดี่ จะเป็นสนิมตีนกานั้นมีน้อยมาก ด้านหลังมีทั้งหลังเว้าและหลังตันขนาดองค์พระค่อนข้างจะใหญ่ พบที่วัดพระมหาธาตุเป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่กรุพระงั่วนั้นมีน้อยกว่า ศิลปะเป็นแบบลพบุรี

พระอู่ทองคางเครา (พิมพ์ไม่มีเครา) เนื้อชินเงิน กรุวัดพระมหาธาตุ อยุธยา