ยอดนิยมจากคมเลนส์ ตอนที่ 47

23 กุมภาพันธ์ 2562 ยอดผู้ชม 9983 ครั้ง

ยอดนิยมจากคมเลนส์ ตอนที่  47

แล่ม จันท์พิศาโล

////////////////////////////////////////////

พระปิลันทน์ วัดระฆัง ธนบุรี พิมพ์ครอบแก้วใหญ่ ของ ศ.นพ.พรพรหม เมืองแมน (ด้านหน้า)
พระปิลันทน์ วัดระฆัง ธนบุรี พิมพ์ครอบแก้วใหญ่ ของ ศ.นพ.พรพรหม เมืองแมน (ด้านหลัง)

       พระปิลันทน์ วัดระฆัง ธนบุรี  สร้างโดย พระพุทธบาทปิลันทน์ (ม.จ.ทัด เสนีวงศ์) ศิษย์ผู้ใกล้ชิด สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อีกทั้งยังได้เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆัง สืบต่อจาก สมเด็จฯ โต และได้ครองสมณศักดิ์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ เช่นกัน  พระปิลันทน์ สร้างด้วยเนื้อผงพุทธคุณและผงวิเศษที่ได้รับจาก สมเด็จฯ โต เป็นส่วนผสมหลักของมวลสาร โดยใช้แม่พิมพ์ที่ได้รับการออกแบบและแกะแม่พิมพ์โดย “ช่างหลวง” พระแต่ละพิมพ์จึงมีลวดลายงดงามอลังการมาก นอกจากนี้ สมเด็จฯ โต ยังได้เมตตาปลุกเสกให้ด้วย บางคนจึงเรียกพระรุ่นนี้ “พระ 2 สมเด็จ” พระส่วนหนึ่งท่านได้แจกในสมัยที่สร้างเสร็จใหม่ๆ และส่วนหนึ่งได้บรรจุไว้ในเจดีย์ใกล้พระอุโบสถวัดระฆัง  พระปิลันทน์ มีหลายพิมพ์ ส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อสีเทาเข้ม พระที่บรรจุกรุจะมีคราบไขขาว อันเป็นเอกลักษณ์ของพระกรุนี้ องค์ในภาพนี้ คือ พิมพ์ครอบแก้วใหญ่ สภาพสวยสมบูรณ์มาก คมชัดทุกมิติ คราบกรุไขขาวจัดมาก ถือเป็นพระแท้ดูง่าย ได้รับรางวัลชนะเลิศจากงานธรรมศาสตร์ ปี 2557 เป็นพระของ ศ.นพ.พรพรหม เมืองแมน ศัลยแพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลศิริราช

////////////////////////////////////////////

พระชัยวัฒน์ วัดแหลมฟ้าผ่า ปี 2484 องค์ในภาพนี้เป็นพระของ รศ.จิรพัฒน์ เงาประเสริฐวงศ์ (ด้านหน้า)
พระชัยวัฒน์ วัดแหลมฟ้าผ่า ปี 2484 องค์ในภาพนี้เป็นพระของ รศ.จิรพัฒน์ เงาประเสริฐวงศ์ (ด้านหลัง)

พระชัยวัฒน์ วัดแหลมฟ้าผ่า ปี 2484 องค์ในภาพนี้เป็นพระของ รศ.จิรพัฒน์ เงาประเสริฐวงศ์ (ด้านข้าง)
พระชัยวัฒน์ วัดแหลมฟ้าผ่า ปี 2484 องค์ในภาพนี้เป็นพระของ รศ.จิรพัฒน์ เงาประเสริฐวงศ์ (ด้านข้าง)

     พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ วัดแหลมฟ้าผ่า ปี 2484 สร้างโดย พระครูพิทักษ์ธรรมโสภิต (พระอธิการเอี่ยม) โดยนิมนต์ท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) เป็นประธานพิธีเททองหล่อพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ รุ่นนี้ เนื่องจาก พระอธิการเอี่ยม เคยอยู่วัดสุทัศนฯ มาก่อน และมีความสนิทสนมกับ ท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) มาก พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ วัดแหลมฟ้าผ่า จึงถือเป็นพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ในสายวัดสุทัศนฯ อีกรุ่นหนึ่ง จำนวนสร้าง พระกริ่ง ประมาณ 300 องค์ พระชัยวัฒน์ ประมาณ 1,000 องค์ พระชัยวัฒน์ วัดแหลมฟ้าผ่า ปี 2484 องค์ในภาพนี้เป็นพระของ รศ.จิรพัฒน์ เงาประเสริฐวงศ์ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

////////////////////////////////////////////

เหรียญจับโป้ยล่อฮั่น (18 อรหันต์) วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2434 เนื้อเงิน ของ ต้น ท่าพระจันทร์ (ด้านหน้า)
เหรียญจับโป้ยล่อฮั่น (18 อรหันต์) วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2434 เนื้อเงิน ของ ต้น ท่าพระจันทร์ (ด้านหลัง)

     เหรียญที่ระลึก "จับโป้ยล่อฮั่น" (หรือ 18 อรหันต์) สร้าง พ.ศ.2434 ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เนื่องในพระราชพิธีทรงผนวช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเหรียญทรงกลมขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 44 มม. ลักษณะคล้ายเหรียญอีแปะเงินของจีนโบราณ พระอรหันต์ 18 องค์ ตามคตินิยมในพระพุทธศาสนาแบบมหายานฝ่ายจีน ประกอบด้วย 1. พระนนทิมิตร (คีลี) พระอรหันต์ปราบมังกร  2.พระปินโฑละ  3. พระจูฬปันถก  4. พระภัทร (ชะโตโล (กนกภารัทราช)   5. พระปิณโฑลภารทวาช  6. พระนกุละ (พังพอน)  7. ภัทร  8. กาลิก  9. วัชรบุตร 10. สุปากะ  11. ปันถก  12. นาคเสน  13. อิงคท  14. วันวาสี 15. อชิต  16. จูฑะปันถก  17. นนทิมิตร และ 18. ราหุล .... เหรียญที่ระลึก "จับโป้ยล่อฮั่น" (18 อรหันต์) ภาพนี้เป็นเหรียญเนื้อเงิน ของ ต้น ท่าพระจันทร์ สุดยอดแฟนพันธุ์แท้ (พระเหรียญ) ปี 2551

////////////////////////////////////////////

พระปิดตาพังพระกาฬ พิมพ์ลอยองค์ ปี 2532 (งูเก็งก็อง) ของ โก้ หาดใหญ่ (ด้านหน้า)
พระปิดตาพังพระกาฬ พิมพ์ลอยองค์ ปี 2532 (งูเก็งก็อง) ของ โก้ หาดใหญ่ (ด้านหลัง)

พระปิดตาพังพระกาฬ พิมพ์ลอยองค์ ปี 2532 (งูเก็งก็อง) ของ โก้ หาดใหญ่ (ด้านข้าง)
พระปิดตาพังพระกาฬ พิมพ์ลอยองค์ ปี 2532 (งูเก็งก็อง) ของ โก้ หาดใหญ่ (ด้านข้าง)
พระปิดตาพังพระกาฬ พิมพ์ลอยองค์ ปี 2532 (งูเก็งก็อง) ของ โก้ หาดใหญ่ (ด้านใต้ฐาน)

     ความนิยมในพระเครื่องสาย จตุคามรามเทพ ทุกวันนี้แม้ว่าจะแผ่วเบาลงไปมากก็ตาม แต่ถ้าเป็นพระรุ่นแรกๆ ก็ยังมีผู้แสวงหากันอยู่เสมอ  ในราคาที่เป็นจริง ไม่สุดโต่งเหมือนในอดีตที่ผ่านมา  1 ในนั้น คือ พระปิดตาพังพระกาฬ พิมพ์ลอยองค์ ปี 2532 สร้างจากเนื้อโลหะที่ได้จากการตัดขอบ เหรียญปิดตาพังพระกาฬ รุ่นแรก มาหลอมรวมกับชนวนโลหะ พระบูชาจตุคามรามเทพ รุ่นแรก และแผ่นยันต์ของพระเกจิอาจารย์อีกหลายท่าน เทหล่อเป็น พระปิดตาพังพระกาฬ พิมพ์ลอยองค์ประมาณ 300 องค์ องค์ท่านพ่อ จตุคามรามเทพ ปลุกเสกในพิธีเดียวกับ เหรียญปิดตาพังพระกาฬ รุ่นแรก พระรุ่นนี้มีองค์พระปิดตานั่งบนขนดหางของงู โดยมีหัวงูอยู่บนเศียรของพระปิดตา ทำให้ชาวบ้านเรียกชื่อพระรุ่นนี้ตามภาพยนตร์เขมรเรื่อง งูเก็งก็อง โดยตัวเอกของเรื่องมีงูอยู่บนหัว พระปิดตางูเก็งก็อง องค์นี้เป็นพระแท้ดูง่ายสวยสมบูรณ์ สภาพเดิมๆ สนนราคาหลักหมื่นกลาง ของ โก้ หาดใหญ่ นักเสาะแสวงหาพระสายใต้ทุกสำนัก

////////////////////////////////////////////

เหรียญพ่อท่านคล้าย พิมพ์หลังยันต์หลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก ปี 2503 ของ คอท่อม ทัพพระราม (ด้านหน้า)
เหรียญพ่อท่านคล้าย พิมพ์หลังยันต์หลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก ปี 2503 ของ คอท่อม ทัพพระราม (ด้านหลัง)

     เหรียญพ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน  จ.นครศรีธรรมราช มีหลายรุ่นหลายพิมพ์ ให้เช่าหากันอย่างกว้างขวาง ตามกำลังทรัพย์ของแต่ละคน ที่นิยมกันมากพิมพ์หนึ่งก็คือ พิมพ์ไหว้ข้าง ซึ่งมีหลายรุ่นหลายพิมพ์ โดยเฉพาะพิมพ์หลัง 2 ขอบเช่าหากันสูงมาก  เหรียญในภาพนี้ คือ พิมพ์หลังยันต์หลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก จำนวนสร้างประมาณ 1,000 เหรียญ สร้างประมาณปี 2503 เพื่อเป็นที่ระลึกระหว่าง พ่อท่านคล้าย กับ หลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก ซึ่งท่านทั้ง 2 ต่างเป็นลูกศิษย์ของ พ่อท่านกราย วัดหาดสูง เหรียญรุ่นนี้จึงเป็นที่นิยมในพื้นที่มาก และหายากอีกด้วย คอท่อม ทัพพระราม (ไพฑูรย์ สุดฝ้าย) เจ้าของเหรียญนี้ให้ข้อมูลมา

////////////////////////////////////////////