ยอดนิยมจากคมเลนส์ ตอนที่ 30

24 กุมภาพันธ์ 2562 ยอดผู้ชม 6226 ครั้ง

คอลัมน์...ยอดนิยมจากคมเลนส์

โดย........แล่ม จันท์พิศาล

////////////////////////////////////////////

พระพุทธรุป ภ.ป.ร. ปี 2508 วัดบวรนิเวศวิหาร หน้าตัก 9 นิ้ว ของ นพ.มาณพ โกวิทยา
พระพุทธรุป ภ.ป.ร. ปี 2508 วัดบวรนิเวศวิหาร หน้าตัก 9 นิ้ว ของ นพ.มาณพ โกวิทยา

               พระพุทธรูป ภ.ป.ร. ปี 2508 โดย วัดบวรนิเวศวิหาร ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้นเนื่องในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงเจริญพระชนมายุ 28 พรรษาเสมอ สมเด็จพระราชบิดา โอกาสนั้นได้เสด็จฯ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร และทรงประกอบพระราชพิธีสำคัญอีก 3 ประการต่อเนื่องกันไป คือ พระราชพิธีหล่อพระพุทธรูปปางประทานพร มีพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. ประดับที่ผ้าทิพย์, พระราชพิธีฉลองสมโภชพระเจดีย์ที่บูรณะใหม่แล้วเสร็จ และทรงพระสุหร่าย ทรงเจิมแผ่นศิลาปฐมฤกษ์ ที่จะผนึกเปลี่ยนผนังพระอุโบสถที่จะบูรณปฏิสังขรณ์ต่อไป พระราชกรณียกิจ ที่ทรงบำเพ็ญในครั้งนี้ประมวลได้ 4 อย่าง ในระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม ถึงวันที่ 29 สิงหาคม 2508 จึงเรียกมหามงคลสมัยครั้งนี้ว่า “จตุรงคมงคล”สำหรับ พระพุทธรูปปางประทานพร ภ.ป.ร. ที่ได้จัดสร้างขึ้นนี้ นับเป็นการสร้างครั้งที่ 2 โดยครั้งแรกจัดสร้างขึ้นในปี 2506 ที่ วัดเทวสังฆาราม จ.กาญจนบุรี...สำหรับ พระพุทธรูปปางประทานพร ภ.ป.ร. ปี 2508 รุ่นนี้มี 2 ขนาด คือ ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว และขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว คือ องค์ในภาพนี้ ซึ่งเป็นสมบัติของ นพ.มาณพ โกวิทยา  

////////////////////////////////////////////

พระคง ลำพูน สีเขียวคราบเหลืองนวล ของ นพ.ภาณุเมศ ศรีสว่าง จ.เชียงใหม่
พระคง ลำพูน สีเขียวคราบเหลืองนวล ของ นพ.ภาณุเมศ ศรีสว่าง จ.เชียงใหม่

               พระคง ลำพูน ศิลปะอินเดีย แบบคุปตะและปาละ อายุกว่า 1,200 ปี เก่าแก่ที่สุดในบรรดาพระสกุลลำพูน ทั้งหมด องค์นี้สวยสมบูรณ์คมชัดมาก สีเขียวคราบเหลืองนวล ฟอร์มสวย องค์พระล่ำ ชนะเลิศจากงานประกวดพระที่ จ.ลำปาง เมื่อไม่กี่ปีก่อน ทุกวันนี้พระสวยระดับนี้หายากสุดๆ เป็นพระของนพ.ภาณุเมศ ศรีสว่าง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ โรงพยาบาลสวนดอกเชียงใหม่

////////////////////////////////////////////

พระกริ่งศิริราช หลวงพ่อเกษม เขมโก สำนักสุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง เนื้อนวโลหะ พ.ศ.2517 ของ นิรุตติ นิลแก้ว
พระกริ่งศิริราช หลวงพ่อเกษม เขมโก สำนักสุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง เนื้อนวโลหะ พ.ศ.2517 ของ นิรุตติ นิลแก้ว
พระกริ่งศิริราช หลวงพ่อเกษม เขมโก สำนักสุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง เนื้อนวโลหะ พ.ศ.2517 ของ นิรุตติ นิลแก้ว

               พระกริ่งศิริราช หลวงพ่อเกษม เขมโก สำนักสุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง เนื้อนวโลหะ สร้างในโอกาสที่ โรงพยาบาลศิริราช มีอายุครบ 7 รอบ (84 ปี) เมื่อ พ.ศ.2517 ออกแบบและแกะแม่พิมพ์โดยนายช่างเกษม มงคลเจริญ ผู้มีฝีมือล้ำเลิศเฉียบขาดมาก จนเป็นนิยมอย่างสูงในสมัยนั้น  พระกริ่งศิริราช ปลุกเสกโดย หลวงพ่อเกษม เขมโก ถือว่าสุดยอดในเรื่องพุทธคุณ องค์นี้ได้รับรางวัลชนะเลิศมาแล้วนับสิบครั้ง เป็นพระของ นิรุตติ นิลแก้ว นักธุรกิจผู้สนใจและศึกษาสะสมพระเครื่องหลักๆ สายหลวงพ่อเกษม เขมโก โดยเฉพาะ

////////////////////////////////////////////

เหรียญหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี รุ่นแรก ปี 2493 ของ แบง​ค์ วรวรรธน์ ร้านคุ้มเลิศสุพรรณ
เหรียญหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี รุ่นแรก ปี 2493 ของ แบง​ค์ วรวรรธน์ ร้านคุ้มเลิศสุพรรณ

               หลวงพ่อมุ่ย พฺทฺธรักขิโต วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี ท่านเกิดเมื่อ พ.ศ.2437 สมัยรัชกาลที่ 5 มรณภาพเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2517 สิริอายุ 86 ปี ท่านเป็นศิษย์ของ หลวงปู่อ้น วัดดอนบุบผาราม,หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา, หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า, หลวงพ่อกูน วัดบ้านทึง, ฯลฯ หลวงพ่อมุ่ย เป็นพระอริยสงฆ์ที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ขยันในการศึกษาหาความรู้ทุกด้าน โดยเฉพาะในเรื่องตัวเลขอักขระยันต์ คาถาอาคมของท่านจึงเข้มขลัง ทำให้วัตถุมงคลทุกรุ่นได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เหรียญหลวงพ่อมุ่ย รุ่นแรก ปี 2493  หรือที่วงการเรียกว่ารุ่น “เครื่องบินลง” เป็นเหรียญยอดนิยมของชาวสุพรรณ ในภาพนี้เป็นเหรียญของ แบง​ค์ วรวรรธน์ ร้านคุ้มเลิศสุพรรณ 

////////////////////////////////////////////

พระหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ หลังเตารีด พิมพ์กลาง ปั๊มซ้ำ ปี 2505 ของ ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช
พระหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ หลังเตารีด พิมพ์กลาง ปั๊มซ้ำ ปี 2505 ของ ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช
พระหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ หลังเตารีด พิมพ์กลาง ปั๊มซ้ำ ปี 2505 ของ ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช

               พระหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ หลังเตารีด พิมพ์กลาง ปี 2505 เป็นพระหล่อแบบโบราณ มี 2 แบบ คือ แบบไม่ปั๊มซ้ำ และ แบบปั๊มซ้ำ โดยที่องค์พระ แบบไม่ปั๊มซ้ำ มีจำนวนน้อยมาก แบบปั๊มซ้ำ เป็นพระที่หล่อออกมามีลักษณะไม่สวยคมชัดเท่าที่ควร ทางวัดจึงให้โรงงานนำกลับไปแก้ไขใหม่ โดยการทำแม่พิมพ์ใหม่ แล้วปั๊มซ้ำลงบนองค์ (แบบปั๊มเหรียญ) พระที่ปั๊มออกมานั้น มีความคมชัดขึ้นกว่าเก่า เรียกว่า แบบปั๊มซ้ำ ในการแก้ไขโดยวิธีปั๊มซ้ำนั้น เนื่องจากแม่พิมพ์ตัวปั๊มมีหลายตัว และขนาดต่างกัน เมื่อปั๊มซ้ำออกมาแล้ว ทำให้พระแต่องค์ไม่เหมือนกัน แต่ก็มีเอกลักษณ์ในการพิจารณาว่าเป็น พระแท้ ไม่ยากนัก องค์ในภาพนี้เป็นพระของ ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังใหญ่พระสายหลวงพ่อทวด วัดช้างให้        ขอขอบพระคุณ ทุกท่านที่ติดตามอ่านคอลัมน์นี้มาตลอด พบกันใหม่ในครั้งต่อไป

////////////////////////////////////////////