อมตพระกรุ เมืองเชียงแสน : ประวัติเมืองเชียงแสน

25 กรกฎาคม 2559 ยอดผู้ชม 548594 ครั้ง

เมืองเชียงแสน

ประวัติความเป็นมาของเมืองเชียงแสน มีบันทึกไว้ในตำนานพงศาวดารหลายฉบับหลายสำนวน แต่เนื้อเรื่องส่วนใหญ่จะเป็นเค้าโครงเดียวกัน การเริ่มเรื่องตำนานจะเริ่มกล่าวตั้งแต่สมัยต้นพุทธกาลว่า พระเจ้าสิงหนวัติกุมาร อพยพมาจากนครไทยเทศล่องลงมาตามลำน้ำโขง และตั้งบ้านแปลงเมืองโดยมีพญานาคช่วยขุดคูปราการเมือง ปรากฏชื่อเสียงว่า นาคพันธุสิงหนวัตินคร ต่อมาตำนานได้กล่าวถึงการรวบรวมดินแดนให้เป็นบึกแผ่นของพระเจ้าสิงหนวัติ โดยรวมเอาชาวมิลักขุ และการปราบปรามพวกกล๋อมหรือขอมให้อยู่ใต้อำนาจ หลังจากนั้นเมืองโยนกนาคพันธุ์ได้มีกษัตริย์ปกครองสืบต่อมาหลายพระองค์ แต่ละองค์ต่างก็เน้นในเรื่องการทำนุบำรุงศาสนาเป็นหลัก ต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้าพังคราช อำนาจของขอมเมืองอุโมงคเสลามีมากขึ้น สามารถรบชนะพระเจ้าพังคราชและขับไล่ให้ไปอยู่ที่เวียงสีทอง โอรสของพระเจ้าพังคราชคือพระเจ้าพรหม สามารถปราบปรามพวกขอมลงได้สำเร็จ จึงอัญเชิญพระเจ้าพังคราชกลับเข้าไปครองราชสมบัติที่ เมืองนาคพันธุ์ฯ ตามเดิม อาณาเขตของเมืองนาคพันธุ์ฯ สมัยพระเจ้าพรหมได้ขยายกว้างออกไปอีกโดยไปสร้างเวียงไชยปราการและครองราชย์อยู่ที่นั่น ในรัชกาลของพระเจ้าชัยศิริเวียงไชยปราการก็ถูกรุกรานโดยกษัตริย์จากเมืองสะเทิม พระเจ้าชัยศิริเห็นว่าสู้ไม่ได้จึงอพยพไปอยู่ที่เวียงกำแพงเพชร สำหรับทางเมืองนาคพันธุ์ฯ ก็ยังคงมีกษัตริย์ปกครองต่อมาอีก จนถึงรัชกาลของพระเจ้ามหาชัยชนะก็เกิดเหตุการณ์อาเพศจนเมืองล่มกลายเป็นหนองน้ำ เมืองเชียงแสนตั้งแต่สมัยพญามังรายเป็นต้นมาอาจกล่าวได้ว่าเป็นการเริ่มต้นประวัติศาสตร์เมืองเชียงแสนอย่างแท้จริง เพราะพญามังรายเป็นกษัตริย์ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ เมืองเชียงแสนปัจจุบันสร้างขึ้นดดยพระเจ้าแสนภูณบริเวณเก่าริมฝั่งแม่น้ำโขงราว พ.ศ. ๑๘๗๑ แต่มีบางท่านเข้าใจว่าเมืองเชียงแสนอสจจะมีอายุเก่ากว่านี้ได้ อาณาเขตของเมืองเชียงแสนเมื่อแรกตั้งทิศเหนือติดต่อกับเมืองเชียงตุงที่เมืองก่ายตัดไปหาบ้านท่าสามท้าว ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดแดนเมืองเชียงตุงที่ดอยหลวงเมืองภูคา ทิศตะวันออกแดนหลวงพระบางที่ดอยเชียงคี ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับเขตแดนเมืองเชียงของ ทิศใต้ติดกับเมืองเชียงราย บริเวณแม่น้ำตม ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับแดนเมืองฝางที่ดอยกิ่วคอหมา ทิศตะวันตกติดกับเมืองลาดบริเวณดอยผาตาแหลว และทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับเมืองเชียงตุง บริเวณดอยผาช้าง หลังจากสร้างเมืองแล้วพระเจ้าแสนภูประทับอยู่ที่เมืองเชียงแสนจนสวรรคตราว พ.ศ. ๑๘๗๗ เมืองเชียงแสนคงเป็นเมืองที่มีความสำคัญในขณะนั้น เพราะกษัตริย์องค์ต่อมาคือพระเจ้าคำฟู ทรงย้ายจากเชียงใหม่มาประทับที่เชียงแสนโดยตลอดรัชกาล แต่หลังจากสมัยพระเจ้าคำฟูแล้วเมืองเชียงแสนคงลดฐานะลงกลายเป็นเมืองลูกหลวงเท่านั้น เพราะพระเจ้าผายูโปรดให้พระเจ้ากือนาราชโอรสปกครองเชียงแสนแทน จากนั้นตั้งแต่รัชกาลพระเจ้ากือนาเป็นต้นมา เมืองเชียงแสนถูกลดบทบาทลงไปอีก เพราะพระมหากษัตริย์รัชกาลต่อๆมาโปรดแต่งตั้งเพียงพระราชวงค์หรือขุนนางที่มีความดีความชอบขึ้นปกครองในฐานะเจ้าเมืองแทน ทำให้เมืองเชียงแสนคงอยู่ในฐานะหัวเมืองหนึ่งเท่านั้น อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะลดฐานะเป็นเพียงหัวเมือง แต่ผู้ปกครองเมืองเชียงแสนทุกคน ต่างก็ทำนุบำรุงบ้านเมืองและมีการสร้างวัดวาอารามอยู่เสมอ จนกระทั่งราว พ.ศ. ๒๑๐๐ เมืองเชียงแสนก็ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่ากับเมืองเชียงใหม่ และอีกหลายๆเมืองในล้านนา ต่อมาราวปี พ.ศ. ๒๑๔๓ ในรัชกาลของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มังนรธาช่อเจ้าเมืองเชียงใหม่ยอมสวามิภักดิ์ต่อกรุงศรีอยุธยา พระนเรศวรโปรดฯให้จัดการปกครองเชียงใหม่และให้ออกญารามเดโชไปครองเชียงแสน เมืองเชียงแสนอยู่ภายใต้ขอบขัณฑสีมาของกรุงศรีอยุธยาได้ไม่นาน ก็ต้องยอมอ่อนน้อมต่อพม่าอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นพม่าก็แต่งตั้งขุนนางมาปกครองโดยตลอด บางครั้งก็มีกระแสการพยายามจะปลดแอกอำนาจของพม่าของชาวพื้นเมือง เช่น กรณีของเทพสิงห์ และน้อยวิสุทธิ์แห่งลำพูน ซึ่งสามารถตีเชียงแสนคืนได้ในราว พ.ศ. ๒๓๐๐ แต่ไม่นานพม่าก็กลับเข้ามาปกครองเชียงแสนได้อีก จนกระทั่งราว พ.ศ. ๒๓๔๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดฯให้เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์และเจ้าพระยายมราช ยกทัพขึ้นไปสมทบกับทัพจากเวียงจันทร์ น่าน ลำปาง และเชียงใหม่ รวมกำลังกันขับไล่พม่าออกจากเชียงแสนเป็นผลสำเร็จและกวาดต้อนผู้คนลงไปไว้ตามเมืองทั้งห้า การศึกครั้งนี้เป็นผลให้เมืองเชียงแสนถูกเผาทำลายจนหมดความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์ไปมาก ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ราว พ.ศ. ๒๔๑๓ มีชาวพม่า ลื้อ เขิน จากเมืองเชียงตุง และชาวไทยใหญ่จากเมืองหมอกใหม่ ได้อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในเมืองเชียงแสน เจ้าอุปราชราชวงศ์เมืองเชียงใหม่ จึงมีหนังสือแจ้งไปยังกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดฯให้อุปราชเมืองเชียงใหม่ไปแจ้งให้คนเหล่านั้นอยู่ภายใต้การปกครองของเชียงใหม่ ถ้าต้องการอาศัยอยู่ต่อไป แต่ไม่มีผู้ใดปฏิบัติตาม ดังนั้นราว พ.ศ. ๒๔๑๗ จึงโปรดเกล้าฯให้เจ้าอินทรวิชยานนท์ เมืองเชียงใหม่ และโปรดเกล้าฯให้เจ้าอินตะนำราษฎรจากลำพูน ลำปาง และเชียงใหม่ขึ้นไปตั้งถิ่นฐานที่เชียงแสนแทน แล้วยกเจ้าอินตะให้เป็นพระยาราชเดช ดำรงเจ้าเมืองเชียงแสน ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เมืองเชียงแสน หลวงในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ต่อมาถูกยุบฐานะกลับเป็นอำเภอเชียงแสน ภายใต้การปกครองของจังหวัดเชียงรายอีกครั้งเมื่อวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๐๐ จึงถึงปัจจุบัน ศิลปะวัตถุของเมืองเชียงแสนที่มีชื่อเสียงได้แก่ พระพุทธรูปที่ทำมาจากเนื้อสำริด เป็นทั้งพระเชียงแสนสิงห์หนึ่ง ซึ่งอยู่ในยุคของแสนแซ้ว เป็นพระที่มีอายุเลิศล้ำทั้งศิลปะและพระสกุลเชียงแสนสิงห์ต่างๆ ทั้งพระศิลปะลังกา สุโขทัย ตลอดจนถึงสมัยอยุธยาก็มี ส่วนพระเครื่องนั้นส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อตะกั่วสนิมแดง และเนื้อตะกั่วแซมไข ส่วนประเภทพระเนื้อดินนั้นมีน้อย ผู้เขียนจะหยิบยกเฉพาะพระที่สำคัญๆของเมืองเชียงแสนมาเสนอ

อนุเสาวรีย์ พ่อขุนเม็งราย

เจดีย์พระธาตุจอมกิตติ เชียงแสน

ซุ้มปราสาทไหว กรุเจดีย์ปราศาทคุ้ม

ซุ้มเปลวเพลิง กรุวัดพระบวช

ปรกโพธิ์ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดอาวาทิ ต้นแก้ว

พระเชียงแสน พิมพ์ลีลา กรุวัดแสนเมือง

พระปรกโพธิ์ กรุวัดพระธาตุสองพี่น้อง

พระปรกโพธิ์เชียงแสน กรุวัดแสนเมืองมา

เชียงแสนใบข้าว กรุวัดร้อยข้อ

พระทองคำสมัยเชียงแสน กรุวัดพระธาตุเขียว

พระปรกโพธิ์เชียงแสน พิมพ์ใหญ่ กรุวัดพระธาตุโขง

พระเชียงแสนปรกโพธิ์ ซุ้มเรือนแก้วใหญ่

พระเชียงแสนซุ้มปราสาทไหว พิมพ์ใหญ่ กรุทุ่งลอ

พระเชียงแสน ซุ้มปราสาทไหว กรุลุ่งลอ

พระเชียงแสน พิมพ์ซุ้มปราศาท กรุวัดแสนเมืองมา

พระเชียงแสน พิมพ์ฐานบัวขีด พิมพ์เล็ก

พระปรกโพธิ์เชียงแสน พิมพ์ฐานบัวฟันปลา

พระเชียงแสน พิมพ์ใบหอกเล็ก กรุวัดป่าสัก

พระเชียงแสนีลา ช่อดอกไม้ กรุวัดหมื่นเชียง

พระปรกเชียงแสนพระปรกโพธิ์เชียงแสน พิมพ์ซุ้มปราสาทเหลี่ยม

พระเชียงแสน พิมพ์ซุ้มยืนประตู

พระซาวแปด เนื้อตะกั่วสนิมแดง

พระปรกโพธิ์เชียงแสน พิมพ์โพธิ์เม็ด