อมตะพระกรุ เมืองอยุธยา ตอนที่ 5

26 กุมภาพันธ์ 2562 ยอดผู้ชม 14350 ครั้ง

พระนาคปรก กรุพระงั่ว อยุธยา

พระนาคปรก กรุพระงั่ว
เป็นพระนาคปรกที่ถือว่าศิลปะเป็นเลิศในกระบวนพระนาคปรกทั้งหมดของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เข้าใจว่าผู้ที่สร้างก็คือ “ขุนหลวงพระงั่ว” พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยานั่นเอง โดยได้รับอิทธิพลของช่างสกุลขอมหรือลพบุรี มีบางท่านได้สันนิษฐานว่า เป็นพระฝากกรุ โดยขุนหลวงพระงั่วไปนำเอาพระของเมืองลพบุรี ซึ่งสร้างโดยช่างสกุลขอมมาไว้ที่ “วัดมหาธาตุ” โดยให้เหตุผลว่าเพราะพระที่นำมามีศิลปะของขอมโดยตรงและพระเมื่อนำมาฝังโดยตรงเป็นครั้งที่ ๒ พอแตกออกมา จะมีลักษณะผุกร่อนมากกว่าฝังไว้คราวเดียว และพระส่วนใหญ่ที่เป็นพระเนื้อชินของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะมีผิวปรอทแทบทุกองค์ แต่พระนาคปรกกรุพระงั่วนั้นไม่มีผิวปรอทสักองค์เดียว ก็ถือว่ามีเหตุผลพอสมควร
พระนาคปรก กรุพระงั่ว

ทำจากเนื้อชินอย่างเดียว เป็นสนิมเกล็ดกระดิ่งเป็นส่วนใหญ่ และผุกร่อนมากมีด้วยกัน ๓ พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ , พิมพ์กลางและพิมพ์เล็ก ด้านพุทธคุณยอดเยี่ยมทางคงกระพันชาตรี ขนาดองค์จริงฐานกว้างประมาณ ๓.๒ ซ.ม. สูงประมาณ ๕ ซ.ม.

พระนาคปรก กรุพระงั่ว เนื้อชินเงิน พิมพ์ใหญ่

พระนาคปรก กรุพระงั่ว เนื้อชินเงิน พิมพ์ใหญ่

พระนาคปรก กรุพระงั่ว พิมพ์ซุ้มเรือนแก้ว (พิมพ์พิเศษ)

พระนาคปรก กรุพระงั่ว พิมพ์กลาง เนื้อชินเงิน

พระนาคปรก กรุพระงั่ว เนื้อชินเงิน พิมพ์กลาง

พระนาคปรก กรุพระงั่ว เนื้อชินเงิน พิมพ์เล็ก

พระนาคปรก กรุพระงั่ว เนื้อชินเงิน พิมพ์เล็ก