อมตะพระกรุ เมืองอยุธยา ตอนที่ 4

26 กุมภาพันธ์ 2562 ยอดผู้ชม 14083 ครั้ง

พระกริ่งคลองตะเคียน อยุธยา

พระกริ่งคลองตะเคียน เป็นพระเนื้อดินผสมผงใบลานเผา ว่านร้อยแปด และเกสรของศักดิ์สิทธิ์ กำเนิดที่บริเวณคลองตะเคียน ทั่วๆไปบริเวณวัดประดู่ พุทธลักษณะเป็นพระนั่งอยู่บนฐานสูงใต้ต้นใบโพธิ์ มีใบโพธิ์ปกคลุมเป็นร่มเงา คล้ายๆกับพระองค์ลำพูนนั่นเอง มียอดเป็นปลีสูง ด้านหลังจะอูมและมีอักขระยันต์จารอยู่ด้านหลัง บางองค์ก็ทำเป็นพระทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แต่ทุกๆ องค์ต้องมีอักขระยันต์ทุกองค์ เอกลักษณ์ของพระกริ่งคลองตะเคียนทุกองค์ ก็คือ พระทุกองค์จะต้องเจาะและบรรจุเม็ดกริ่งเข้าไป เวลาเขย่าจะมีเสียงดัง พระกริ่งคลองตะเคียน เข้าใจว่าจะเป็นพระอยุธยายุคปลายๆ สร้างโดย เกจิอาจารย์หรือผู้เรืองเวทในสมัยนั้น มีด้วยกันหลายพิมพ์ คือ
  1. พิมพ์หน้าใหญ่ไหล่ยก
  2. พิมพ์สองหน้า
  3. พิมพ์หน้าเล็ก
  4. พิมพ์ปิดตา มีด้วยกัน ๓ สี คือ สีดำ สีเขียวอมเทา สีเหลืองอมเขียว
เราจะสังเกตได้ว่าพระกริ่งคลองตะเคียนทุกองค์ ลายมือในการจารยันต์อักขระจะเป็นลายมือเดียวกัน เข้าใจว่าจะเป็นผู้สร้างเดียวกัน ที่ก้นของพระกริ่งคลองตะเคียนจะเป็นรอยหยิก และจะมียันต์อักขระใต้ก้นทุกองค์ ส่วนด้านพุทธคุณนั้น พระกริ่งคลองตะเคียน ยอดเยี่ยมทางด้านแคล้วคลาดคงกระพันชาตรี โดยเฉพาะ เรื่องเขี้ยวงาถือว่าสุดยอด

พระกริ่ง คลองตะเคียน พิมพ์หน้าใหญ่

พระกริ่ง คลองตะเคียน พิมพ์หน้าเล็ก

พระกริ่ง คลองตะเคียน พิมพ์หน้าเล็ก

พระกริ่ง คลองตะเคียน พิมพ์หน้าเล็ก

พระกริ่ง คลองตะเคียน พิมพ์หน้าเล็ก (ด้านหน้า)

พระกริ่ง คลองตะเคียน พิมพ์หน้าเล็ก (ด้านหลัง)