อมตะพระกรุ เมืองอยุธยา ตอนที่ 3

26 กุมภาพันธ์ 2562 ยอดผู้ชม 31518 ครั้ง

พระกรุวัดตะไกร อยุธยา

พระวัดตระไกร จัดเป็นพระเนื้อดินยอดนิยมของพระนครศรีอยุธยา กำหนดขึ้นครั้งแรกที่วัดตระไกร ปัจจุบันร้างไปนานแล้ว แตกกรุออกมาด้วยกัน 3 พิมพ์ คือ
  1. พิมพ์หน้าครุฑ จัดเป็นพิมพ์ที่นิยมที่สุด
  2. พิมพ์หน้าฤาษี
  3. พิมพ์หน้ามงคล มีทั้งชนิดเนื้อชิน และเนื้อดิน แต่ที่นิยม คือ เนื้อดิน เพราะมีมากกว่านั่นเอง บางองค์มีการลงรักปิดทองมาจากกรุก็มี
เอกลักษณ์ของพระวัดตระไกรที่ก้นจะมีรูเข้าใจว่าจะใช้ไม้เสียบเพื่อนำเอาพระออกจากพิมพ์ แต่ถ้าเป็นเนื้อชินจะไม่มี ต่อมาเมื่อประมาณปี 2528 ก็มีผู้ค้นพบอีก แต่จำนวนไม่มาก และครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2539 ก็มีผู้ค้นพบอีก พระวัดตระไกรเป็นพระที่มีชื่อเสียงโด่งดังด้านพุทธคุณมาแต่โบราณ คือ ยอดเยี่ยมทางด้านแคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี

พระกรุวัดตะไกร อยุธยา

พระวัดตะไกร พิมพ์หน้าครุฑ เนื้อดิน

พระวัดตะไกร พิมพ์หน้าครุฑ เนื้อดิน

พระกรุวัดตะไกร อยุธยา

พระวัดตะไกร พิมพ์หน้ามงคล เนื้อชิน แซมไข

พระวัดตะไกร พิมพ์หน้ามงคล เนื้อดิน

พระวัดตะไกร พิมพ์หน้ามงคล เนื้อชินเงิน

พระวัดตะไกร พิมพ์หน้าฤาษี

พระวัดตะไกร พิมพ์หน้าฤาษี